การดูแลผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหาร

การดูแลผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหาร มีวิธีดูแลอย่างไร ให้เหมาะสมมากที่สุด

0 Comments

การดูแลผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหาร

เชื่อว่าหลาย ๆ คนจะต้องเคยเห็นผู้ป่วยที่ใส่สายยางทางจมูกกันอย่างแน่นอน ซึ่งสายยางนั้นจะเป็นสายยางให้อาหาร เพราะผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหาร จำเป็นต้องมีอาหารเฉพาะที่ทาโรงพยาบาลเป็นผู้จัดเตรียมให้ แต่หากบ้านไหนที่มีผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหาร และยังไม่รู้ว่าจะมีวิธีการดูแล หรือการป้อนอาหารอย่างไรให้เหมาะสม มาดูกันเลย 

การดูแลผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหาร ผู้ป่วยประเภทไหนควรใส่สายยาง 

สำหรับผู้ป่วยปกติส่วนใหญ่แล้วจะไม่ต้องใส่สายยางให้อาหาร แต่หากเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ หรือรับประทานอาหารได้น้อยกว่า 60% ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวันนานติดต่อกันเกิน 3-7 วัน ผู้ป่วยที่มีปัญหาในด้านการกลืน การสำลักอาหาร ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร รวมทั้งผู้ที่ไม่รู้สึกตัว หรือไม่ยอมรับประทานอาหารทางปาก ล้วนเป็นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใส่สายยางให้อาหารทั้งสิ้น แต่การใส่สายยางให้อาหารนั้น จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์เสียก่อน ทั้งนี้เมื่อผู้ป่วยสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ จะเป็นต้องมีการดูแลผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหารอย่างใกล้ชิด และให้อาหารทางสายยางอย่างถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายให้แก่ผู้ป่วยได้มากที่สุด 

การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายยางให้อาหารอย่างเหมาะสม มีการดูแลอย่างไรบ้าง 

สำหรับการดูแลผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหารอย่างเหมาะสมนั้น ความจริงแล้วจะมีวิธีการดูแลที่ง่าย ไม่ยุ่งยากเท่าไหร่นัก ทุกคนสามารถศึกษาและทำตามได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น 

  • เช็คสายก่อนให้อาหารทุกครั้ง: ก่อนให้อาหารในทุกครั้ง ผู้ดูแลจำเป็นต้องเช็คสายก่อนเสมอว่า ปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ ด้วยการใช้หูฟังทางการแพทย์ฟังที่ลิ้นปี่ ก่อนใส่อากาศเข้าไป 100cc. ด้วย syringe feed เพื่อฟังเสียงลม 
  • เปลี่ยนพลาสเตอร์เสมอ: โดยปกติแล้วผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหาร จะมีพลาสเตอร์ติดไว้ที่จมูกของผู้ป่วย ดังนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนพลาสเตอร์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันความสกปรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • บีบและรูดสายยางให้อาหาร: โดยปกติแล้วการให้อาหารทางสายยาง เราจะให้ทั้งอาหารและนม ดังนั้นเมื่อให้อาหารไปนาน ๆ แน่นอนว่าจะต้องมีคราบติด ดังนั้นเมื่อให้น้ำแล้วให้บีบและรูดสายยางให้อาหาร เพื่อให้คราบต่าง ๆ หลุดได้อย่างง่ายดาย 

โดยปกติแล้วผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง น้อยคนนักที่จะดูแลตัวเองหรือให้อาหารตัวเองได้ ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องมีการดูแลผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหารอย่างใกล้ชิด และดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้ 

Related Posts

ความเสี่ยงของการไม่ทำประกันภัยรถยนต์

0 Comments

ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว รถยนต์ได้เป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ผู้คนใช้ในการเดินทางเป็นอันดับหนึ่งของโลก หลายคนฝันที่อยากจะมีรถสักคันสำหรับขับไปไหนมาไหนที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การเดินทางด้วยรถยนต์ก็เป็นสิ่งที่สร้างอุบัติเหตุเยอะที่สุด และการใช้รถก็มาพร้อมกับความรับผิดของอุบัติเหตุและความเสียหายที่เกิดขึ้น ในกรณีที่เกิดเรื่องพวกนี้ ประกันภัยรถยนต์ จึงเปรียบเสมือนที่พึ่งทางใจในการบรรเทาแรงกดดันทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเหล่านี้ บทความนี้จะมาทำความเข้าใจกับผลที่อาจเกิดขึ้นจากการละเลยต่อความรับผิดชอบที่ไม่ทำประกัน…

การจัดเก็บหนังสือ

การรักษาจัดเก็บและดูแลหนังสืออย่างเหมาะสม

0 Comments

หนังสือเป็นสถานที่พิเศษในชีวิตของเรา ทำหน้าที่เป็นประตูสู่ความรู้ จินตนาการ และแรงบันดาลใจ เพื่อให้แน่ใจว่าหนังสือมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวและคงคุณค่าไว้ การจัดเก็บหนังสืออย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในบทความนี้ เราจะสำรวจความสำคัญของการจัดเก็บหนังสือที่เหมาะสม พร้อมให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาสภาพของหนังสือ การป้องกันความเสียหาย…

ซื้อกำไรหรือสร้อยข้อมือเพชรแบบไหน รู้ก่อนไปซื้อที่ร้านเพชร 

0 Comments

สำหรับคนที่กำลังมองหาเครื่องประดับเพชร อย่างกำไรหรือสร้อยข้อมือเพชร คุณสามารถซื้อได้ที่ร้านเพชรทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นร้านเพชรในห้างหรือร้านเพชรออนไลน์แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคนแต่ก่อนตัดสินใจไปซื้อกำไรหรือสร้อยข้อมือเพชรที่ร้าน เรามีสาระดีๆ มาฝาก ซื้อกำไรหรือสร้อยข้อมือเพชรแบบไหน เลือกแบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด   1.คนเจ้าเนื้อหรือคนอวบ  สำหรับคนเจ้าเนื้อหรือคนอวบเราแนะนำกำไรหรือสร้อยข้อมือเพชรที่มีลักษณะไม่ใหญ่มากและเลือกไซส์หลวมๆ…